วิธีคำนวณค่าไฟเครื่องปรับอากาศแต่ละขนาด

ปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศสูงขึ้น

เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกำลังไฟค่อนข้างมาก จึงไม่แปลกใจเลยว่าใครหลาย ๆ คนอาจจะกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะต้องเปิดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยบรรเทาสภาพอากาศร้อนในประเทศไทย ลองมาดูกันว่า เครื่องปรับอากาศแต่ละแบบที่มีขนาด BTU แตกต่างกัน จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่เข้ามาเป็นตัวกำหนด การใช้งานกำลังไฟภายในห้อง และค่าไฟต่อชั่วโมงของแอร์หนึ่งเครื่องมีมูลค่าเท่าไหร่

ปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศสูงขึ้น

ส่วนใหญ่แล้วเครื่องปรับอากาศจะเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ค่าไฟในบ้านสูงขึ้น เว้นแต่ว่าบ้านของคุณจะติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเพิ่มเข้ามา อย่างเครื่องจักรต่าง ๆ เข้ามาใช้งานภายในบ้าน แต่นอกจากนั้นแล้ว ส่วนใหญ่ค่าไฟจะถูกโฟกัสไปที่เครื่องปรับอากาศมากกว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศสูงขึ้นนั้น อาจเกิดจากหลากหลายปัจจัย ดังนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้น

  1. แน่นอนว่าอุณหภูมิภายนอกบ้านที่สูงขึ้น
    ย่อมส่งผลถึงอุณหภูมิภายในตัวบ้านที่ร้อนขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานเกินกำลังมากกว่าปกติอยู่บ้าง รวมถึงไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน ที่อาจจะทำงานอยู่ภายในบ้านตลอดเวลา ไม่ได้ออกไปไหน การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งวัน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟสูงกว่าปกติเช่นกัน

  2. ขนาดของห้องที่ไม่รองรับกับค่า BTU
    ขนาดของห้องที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของเครื่องปรับอากาศ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินความจำเป็น และยังเสื่อมสภาพได้ง่ายอีกด้วย โดยทุกครั้งที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน นั่นหมายถึงว่าแอร์ทำงานอย่างหนักด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องมีการปรับอุณหภูมิอยู่ตลอดเวลา และขนาด BTU ที่น้อยกว่าขนาดห้อง และไม่รองรับการใช้งานที่พอดี นำไปสู่ค่าไฟที่สูงขึ้นได้

  3. ค่าไฟของคอนโดและหน่วยวัดที่แตกต่างกัน
    อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้น อาจจะเกิดขึ้นจากการปรับ หรือเปลี่ยนแปลงค่าไฟ ที่เรียกว่าค่า FT ซึ่งมีการแปรผันอยู่ตลอดเวลา และตรงนี้ก็ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของแต่ละบ้านสูงขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึงอัตราหน่วยไฟ ที่ใช้กันในคอนโดหรือหอพัก ที่จะถูกชาร์จเพิ่มด้วยเช่นกัน แตกต่างจากไฟบ้านทั่วไป เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คุณจ่ายแพงขึ้น

สูตรและวิธีคำนวณค่าไฟเครื่องปรับอากาศในแต่ละขนาด

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้และอยากทราบว่า สามารถคำนวณค่าไฟเครื่องปรับอากาศได้อย่างไรบ้าง วันนี้ทางเรามีวิธีการคำนวณค่าไฟจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้คุณสามารถประเมินผลค่าใช้จ่ายที่แตกต่าง ของการใช้ไฟในแต่ละเดือนด้วยตัวเองได้ เพื่อเป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุ และประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกทาง คุณสามารถทำได้ด้วยการ

  • คำนวณค่าใช้จ่ายของแอร์รายปี
    นำค่า BTU มาหารกับค่า SEER หาร 1,000 แล้วคูณต่อด้วยจำนวนชั่วโมงต่อวัน คูณ 365 วัน คูณหน่วยค่าไฟบ้าน หนึ่งหน่วยราคากี่บาท เสร็จแล้วคุณจะได้ค่าใช้จ่ายต่อปี โดยสูตรนี้เป็นสูตรพื้นฐานที่โครงการประหยัดไฟเบอร์ 5 ใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายรายปีด้วยเช่นกัน เพียงแต่จะใช้มาตรฐานการเปิดใช้งานต่อวัน 8 ชั่วโมงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้งานมากกว่า 10 ชั่วโมง หรือมากกว่า 8 ชั่วโมง ก็สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายตามสูตรนี้ได้แช่นกัน
  • ค่า SEER คืออะไร?
    เป็นค่าปริมาณในการทำความเย็น ที่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะถูกระบุอยู่ในตัวเครื่องมาด้วย โดยปกติแล้ว ค่า SEER จะคำนวณจากการนำ BTU มาหารกับพลังงานที่ใช้เป็นหน่วย Wh จะได้ค่า SEER เพื่อนำไปคำนวณการใช้งานไฟฟ้าได้อีกที


โดยปกติค่าไฟเครื่องปรับอากาศ 12,000 BTU ต่อชั่วโมง ต้องจ่ายเท่าไหร่

เนื่องจากแอร์ขนาด BTU 12,000 ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีขนาดที่พอดีกับห้องไซซ์ทั่วไป และมีจำนวนการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศขนาดนี้สูงที่สุด เพราะฉะนั้นหลายคนจึงอยากทราบว่าแอร์ขนาดนี้ ในขนาดห้องที่เหมาะสม จะกินไฟชั่วโมงเท่าไหร่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ดูว่า ควรจะเลือกใช้ไฟในรูปแบบไหนดี ปิด 1 ชั่วโมง เปิด 2 ชั่วโมงดีหรือไม่? แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า ค่าไฟเครื่องปรับอากาศขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน
วิธีคำนวณค่าแอร์ต่อชั่วโมง จึงไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่ และไม่แนะนำให้ใช้ หรือเชื่อข้อมูลนี้ 100% เพราะลักษณะห้อง การเก็บความร้อน และที่ตั้งของพื้นที่ใช้แอร์ เป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าใช้จ่ายแอร์สูงขึ้นได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ให้ลองสังเกตการใช้งานดู และควรติดตั้งแอร์ให้ห่างจากความร้อนให้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้แอร์ทำงานหนักเกินไป จะดีกว่าการมานั่งคำนวณค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงเพื่อเปิด-ปิดแอร์บ่อย ๆ โดยไม่มีความจำเป็น

 

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องไม่ได้มากอย่างที่คุณคิด

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหนึ่งเครื่องนั้น ไม่จำเป็นต้องคิดอีกต่อไป เพราะว่าเมื่อคุณลองคำนวณค่าไฟแอร์ออกมาเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีแล้ว คุณจะสามารถนำไปประเมินได้เลยว่า หนึ่งวันกับการใช้เครื่องปรับอากาศ 8 ชั่วโมง กินไฟเพียงแค่วันละไม่ถึง 40 บาทเท่านั้น ยิ่งใช้น้อยก็แทบจะไม่ต้องกังวลเลยในเรื่องของค่าใช้จ่าย สิ่งที่คุณควรจะกังวลก็มีเพียงแค่ทิศทางการติดตั้ง และลักษณะของห้องที่จะทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพื่อหาจุดที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะสามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงที่สุด รวมไปถึงให้อุณหภูมิที่พอดีกับขนาดห้อง จะไม่ทำให้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป และประหยัดค่าใช้จ่ายได้

 

ติดต่อเรา
https://www.thavechaiair.com/
CALL-CENTER : 081-985-0077 กด1
LINE: @TWCAIR
https://www.facebook.com/thavechaiair

 

Visitors: 516,419