ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

รู้ทริคสำคัญก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ช่วยยืดอายุการใช้งาน และประหยัดค่าไฟ

เครื่องปรับอากาศ

สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ใครหลายคนหาทางออกด้วยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ คงจะดีหากก่อนติดตั้งเรารู้ข้อมูลก่อน เพราะการตระเตรียมบ้าน การเลือกเครื่องปรับอากาศ และตำแหน่งที่ติดตั้งล้วนส่งผลต่อความปลอดภัย สุขภาพ ความสะดวกสบาย การดูแลรักษา รวมถึงการประหยัดพลังงานและประหยัดค่าไฟ

การเตรียมห้อง บ้าน อาคารให้พร้อมสำหรับการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

  • บริเวณที่มีหน้าต่างควรมีกันสาด หรือติดม่าน/มู่ลี่ ยิ่งติดแบบกันยูวีได้ยิ่งดี เพราะช่วยลดทอนความร้อนจากภายนอกเข้ามาภายในตัวบ้าน

  • สีที่ใช้ทาบ้านก็ช่วยได้มาก หากทาบ้านด้วยสีอ่อน จะช่วยสะท้อนความร้อน

  • ภายในห้องมีช่องว่างมากหรือไม่ เพราะอากาศภายนอกอาจเข้ามาได้มาก เพราะส่วนใหญ่อากาศเมืองไทยมักร้อนและมีแดดจ้า เมื่ออากาศร้อนเข้ามาในห้องได้มาก จะส่งผลให้แอร์ทำงานหนัก เช่น ตามกรอบประตูหน้าต่าง หรือหน้าต่างบานเกล็ด ควรกำจัดช่องว่างเหล่านั้น เพื่อป้องกันความเย็นรั่วซึมออกไป จนเครื่องปรับอากาศทำงานหนัก

  • หากห้องกว้างมาก หรือยาวมาก และมีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศแค่บางจุด อาจใช้ม่านกั้นแอร์ หรือฉากกั้นห้อง จะช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศลง

  • ในห้องมีพัดลมระบายอากาศหรือไม่ ทั้งที่เชื่อมต่อกับภายนอก และเชื่อมต่อกับห้องน้ำ ห้องที่เหมาะสมในการติดเครื่องปรับอากาศมากที่สุด คือ
    ห้องที่ไม่พัดลมปรับอากาศ หากมี หากจำเป็นต้องมี ควรเป็นใบพัดขนาดเล็ก และเปิดใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

  • ในกรณีที่ต้องการติดเครื่องปรับอากาศหลายเครื่อง หรือเป็นบ้าน/อาคารที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ เช่น มีเครื่องทำน้ำอุ่น หรือจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมๆ กันหลายเครื่อง ควรเช็คมิเตอร์ไฟว่าเพียงพอต่อการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือไม่ โดยสามารถดูได้ที่มิเตอร์โดยตรง หรือ ดูที่ใบแจ้งค่าไฟฟ้า ซึ่งมิเตอร์ที่บ้านทั่วไปมีขนาด 5 แอมป์ สามารถติดเครื่องปรับอากาศ ขนาด 9000 - 13000 BTU ได้ 1 เครื่อง ในกรณีที่เป็นห้องขนาดใหญ่ หรือติดหลายเครื่อง อาจทำเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ หรือ สลับกันใช้เครื่องปรับอากาศ อย่าเปิดหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน และไม่ควรใช้พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น

  • หากบ้านของคุณเป็นบ้านไม้ ควรปิดช่องว่างต่างๆ เช่น ใช้เสื่อน้ำมันปูพื้น ใช้แผ่นยิปซั่มหรือไม้ฝาปิดบริเวณผนัง ตีฝ้าเพดานป้องกันความเย็นออก หากสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยลดความร้อนและส่งผลดีต่อเครื่องปรับอากาศ

เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม

  • ดูว่ามีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือไม่ เครื่องปรับอากาศเครื่องไหนติกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ย่อมเป็นเครื่องหมายรับรองว่าเป็นเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง ซึ่งฉลากมี 2 แบบ คือ EER และ SEER

  • EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio หรือ อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ ของเครื่องปรับอาศแบบ Fixed Speed เป็นการวัดสมรรถนะในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ค่ายิ่งสูงยิ่งดี

  • SEER ย่อมาจาก Seasonal Energy Efficiency Ratio ของเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ เป็นการวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ค่ายิ่งสูงยิ่งดี

  • เลือก BTU ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดของห้อง หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า BTU ซึ่งคำนี้ย่อมาจาก British Thermal Unit เป็นหน่วยที่ใช้วัดความเย็นของเครื่องปรับอากาศ จำง่ายๆ ว่า หากเครื่องปรับอากาศมีค่า BTU สูง ยิ่งทำความเย็นได้มาก และใช้กับห้องขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นการเลือก BTU ให้เหมาะสมกับห้องจะช่วยประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือน ก่อนคำนวณเราต้องรู้ 2 ค่า คือ พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) และความแตกต่างของระดับความร้อนระหว่างกลางวันและกลางคืน (Cooling Load) ซึ่งค่านี้สามารถตีเป็นตัวเลขกลมๆ ได้ว่า ห้องที่ใช้ในตอนกลางวัน จะมีค่าประมาณ 700-800 BTU ต่อตารางเมตร ส่วนห้องที่ใช้ในกลางคืน จะมีค่าประมาณ 600-700 BTU ต่อตารางเมตร

    สูตร คือ พื้นที่ห้อง x ความแตกต่าง หรือสามารถสรุปง่ายๆ ดังนี้
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 9000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 11-14 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 14-18 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 21-27 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 21,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 25-32 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 28-36 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 30,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 35-45 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 48,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 56-72 ตารางเมตร
  • เครื่องปรับอากาศขนาด 80,000 BTU เหมาะสำหรับห้องที่ใช้ในตอนกลางวันขนาด 70-90 ตารางเมตร

สำหรับขนาดห้องที่ใช้ในตอนกลางคืน จะสามารถบวกเพิ่มตารางเมตรจากห้องที่ใช้ในตอนกลางวันไปอีก 1-10 ตารางเมตร

 

 ตำแหน่งที่ควรติดเครื่องปรับอากาศ

ตำแหน่งที่ไม่ควรติดเครื่องปรับอากาศ

  • ไม่ควรติดในตำแหน่งที่มีแดดส่องมาก
    หรือเจออากาศร้อนมากกว่าด้านอื่น โดยเฉพาะทิศตะวันตกและทิศใต้ เพราะหากติดเครื่องปรับอากาศบริเวณนั้นจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานมากขึ้น และอายุการใช้งานอาจลดลง

  • ไม่ควรติดในตำแหน่งที่ความร้อนสามารถเข้ามาได้ง่าย
    เช่น เหนือประตูหรือหน้าต่าง เพราะอาจเปิดปิดบ่อย โดยเฉพาะห้องที่มีการเปิดๆปิดๆประตูหน้าต่างบ่อย เช่น ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องทำงานหรือออฟฟิศ

  • ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศใกล้เพดานเกินไป
    เพราะผู้ใช้งานและช่างเช็คลำบาก รวมถึงเกิดความชื้นและเชื้อราได้ง่าย

  • ไม่ควรติดเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่ส่งผลต่อสุขภาพหรือความปลอดภัย
    เช่น ติดเหนือหัวเตียง เพราะเมื่อศีรษะได้รับความเย็นมากและบ่อย อาจทำให้เจ็บป่วยได้ หรืออาจรบกวนการนอน อีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังคือ บริเวณปลายเท้า เพราะเท้ามีจุดรวมประสาทมากมาย หากเท้าเย็นจนเกินไป จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และรู้สึกไม่สบายตัว

  • คอยล์ร้อน (Condensing Unit) ไม่ควรอยู่ใกล้ห้องนอน
    เพราะเสียงอาจรบกวนยามนอนหลับ จนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือไม่สามารถหลับได้ รวมถึงไม่อยู่ใกล้บ้านของเพื่อนบ้านมากเกินไป เพราะอาจรบกวนเพื่อนบ้าน หลีกเลี่ยงบริเวณที่ถูกแดดจัดเป็นเวลานาน หรือถูกฝนได้

TWCAIR เป็นบริษัทที่เป็น Official Shop ให้กับเครื่องปรับอากาศแบรนด์ชั้นนำ เช่น Toshiba, Carrier, Central air และ Saijo Denki จำหน่ายเครื่องปรับอากาศมากกว่า 20 ยี่ห้อ ทั้งขายปลีกและขายส่ง เรามีบริการส่งเครื่องปรับอากาศ และรับติดตั้งแอร์ทั่วประเทศ พร้อมรับประกันงานติดตั้งนาน 1 ปี

 

ติดต่อเรา
https://www.thavechaiair.com/
CALL-CENTER : 081-985-0077 กด1
LINE: @TWCAIR
https://www.facebook.com/thavechaiair

 

Visitors: 526,712